1. การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ
ตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 ได้กำหนดให้การจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ เป็นการจัดหารายได้ให้กับเทศบาลทุกแห่งเทศบาลตำบลเจดีย์แม่ครัวดำเนินการจัดเก็บภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมายกำหนดเพื่อให้คณะผู้บริหารนำรายได้ดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมแผนงานโครงการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการให้บริการทางสังคมแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งภาษีที่ทำให้เทศบาลมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ดังต่อไปนี้
1.1 ภาษีอากรที่จัดเก็บเอง
– ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
– ภาษีป้าย
– อากรฆ่าสัตว์
1.2 จัดเก็บค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตต่าง ๆ
– การจัดตั้งตลาดเอกชน
– การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
– การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
– สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร2. การยื่นแบบชำระภาษีประเภทต่าง ๆ
2.1 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ฐานภาษี
มูลค่า/ราคาประเมินทุนทรัพย์ ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้เสียภาษี
- เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
- เจ้าของห้องชุด
- ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
ผู้จัดเก็บภาษี
- เทศบาล
- อบต.
- กรุงเทพมหานคร
- เมืองพัทยา
การทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.เกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่ประกาศกำหนด
การจัดเก็บ ดูตามสภาพข้อเท็จจริง / ทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ เสียภาษีตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์ / รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องที่ใช้สำหรับ เกษตรกรรม
2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัย แบ่งเป็น
- บ้านหลังหลัก เจ้าของบ้านและที่ดิน/เจ้าของเฉพาะตัวบ้านมีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน/เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
- บ้านหลังอื่นๆ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
3.อื่น ๆ เช่น พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, โรงแรม, ร้านอาหาร, ร้านเสริมสวย, ฯลฯ
4.ที่ว่างเปล่า/ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่าหรือไม่ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.เกษตรกรรม (เพดาน 0.15%)
มูลค่า (ล้านบาท) อัตรา (%)
0 – 75 0.01
75-100 0.03
100-500 0.05
500-1,000 0.07
1,000 ขึ้นไป 0.1
บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท
2.ที่อยู่อาศัย (เพดาน 0.3%)
มูลค่า (ล้านบาท) บ้านหลังหลัก บ้าน+ที่ดินหลังหลัก บ้านหลังอื่น
0 - 10 ยกเว้นภาษี ยกเว้นภาษี 0.02
10 - 50 0.02 ยกเว้นภาษี 0.02
50 - 75 0.03 0.03 0.03
75 - 100 0.05 0.05 0.05
100 ขึ้นไป 0.1 0.1 0.1
3.อื่น ๆ (เพดาน 1.2%)
มูลค่า (ลบ.) อัตรา (%)
0 – 50 0.3
50 – 200 0.4
200 – 1,000 0.5
1,000 – 5,000 0.6
5,000 ขึ้นไป 0.7
4.ที่รกร้างว่างเปล่า (เพดาน 3%)
มูลค่า (ลบ.) อัตรา (%)
0 – 50 0.3
50 – 200 0.4
200 – 1,000 0.5
1,000 – 5,000 0.6
5,000 ขึ้นไป 0.7
สำหรับ ที่ว่างเปล่า/ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ เพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%
บ้านหลังหลัก 1 หลัง
- ส่วนของมูลค่าที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน
- ส่วนของมูลค่าที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะบ้าน
ที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดา
- ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปีแรก
- ปีที่ 4 เป็นต้นไป ได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละ อปท. รวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาทเป็นการถาวร
การยกเว้น
- ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ (รัฐ/เอกชน)
- สหประชาชาติ สถานทูต
- ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ที่ดินสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรรและนิคมอุตสาหกรรม
การลดหย่อน
- กิจการสาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงผลิตไฟฟ้า สถานีรถไฟ ที่จอดรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น
- ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการพักอาศัยและนิคมอุตสาหกรรม (3 ปี ตั้งแต่ยื่นขออนุญาต)
- ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน (5 ปี)
- บ้านพักอาศัยซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาจากการรับมรดกก่อนที่ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างมีผลบังคับใช้
การผ่อนชำระ
สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน หากมียอดภาษีตั้งแต่ 3,000 ขึ้นไป
การชำระภาษี
เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนของทุกปี
2.2 ภาษีป้าย
ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน สลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีใดๆ
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี
1.ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
2.กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่น ภ.ป. 1 ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่
การชำระเงินค่าภาษี
ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องชำระค่าภาษีภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราค่าภาษีป้าย
โดยกฎหมายได้กำหนดอัตราภาษีป้าย (ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร) ตามรายละเอียดดังนี้
1.ป้ายประเภท 1 อักษรไทยล้วน
(ก)ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้ อัตรา 10 บาท
(ข)ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ อัตรา 5 บาท
2.ป้ายประเภท 2 อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ/รูปภาพ/เครื่องหมายอื่นๆ
(ก)ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้ อัตรา 52 บาท
(ข)ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ อัตรา 26 บาท
3.ป้ายประเภท 3 ไม่มีอักษรไทย/อักษรไทยอยู่ต่ำกว่าภาษาต่างประเทศบางส่วน
(ก)ข้อความเคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้ อัตรา 52 บาท
(ข)ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้ อัตรา 50 บาท
**ป้ายใดที่เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท
การไม่ยื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนด
1. ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
2. ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 2 ของ
ค่าภาษี
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบ
การค้าหรือประกอบกิจการ